ทำไมเราควรไปรับประทาน โอมากาเสะ / Chef Table สักครั้งในชีวิต

เมื่อหลายปีที่แล้ว น้อยคนมากๆ ในประเทศไทยที่จะยอมเสียเงินทานอาหารในราคาครึ่งหมื่น หรือ เฉียดหมื่น แต่ในวันนี้ trend การรับประทาน โอมากาเสะ หรือ Chef Table กลับมาแรงมากๆ จองกันข้ามเดือนสำหรับร้านดังๆ และเต็มเกือบทุกร้าน แม้จะเป็นร้านที่เปิดไม่นานนัก
โอมากาเสะ / Chef Table คืออะไร
โอมากาเสะ คือ การเข้าไปทานร้านอาหารญี่ปุ่น ที่จะให้เซฟรังสรรค์วัตถุดิบให้ตาม Seasonal หรือ ตามฤดูกาลว่าในช่วงเวลานั้น เราควรกินอะไรแล้วจะอร่อยที่สุด และที่สำคัญจะเป็นการนั่งทานที่บาร์ชูชิ เพื่อที่เซฟจะได้ปั้นแต่ละคำเสร็จแล้วเราสามารถกินได้เลย โดยไม่เสียอุณหภูมิของคำนั้น
ในปัจจุบันนั้นร้านทั่วไปจะมีให้เลือกเป็นคอร์ส มีราคาตั้งแต่หลักร้อย (เห็นถูกสุด 799++) จนไปถึงหลักหมื่น โดยความแตกต่างกันจะเป็นคุณภาพของปลาที่ใช้ ความเก่งของเชฟ รวมถึงชื่อเสียงของร้าน

Chef Table แปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ก็คือ โต๊ะของเชฟ โดยเชฟนั้นจะเลือกวัตถุดิบดี หรือหายากในฤดูการนั้น มาปรุงโดยกรรมวิธีตามที่เชฟคิดว่าเหมาะกับการอาหารจานนั้นให้เราได้ทาน แล้วภายในห้องที่มีห้องครัวเพื่อทำอาหารเสิร์ฟ (ซึ่งอาจจะเป็นครัวฝรั่ง สำหรับการ Cook เล็กน้อย หรือการจัดเตรียมอาหาร)
Chef Table ส่วนมากจะเป็นอาหารแนวฝรั่ง/ ฟิวชั่น และ อาหารไทย ทางเชฟจะมาเสริฟให้ที่โต๊ะเป็นเมนูๆ คนละ 1 จาน/ 1 เมนู ต่างจากที่เราทานกันปกติจะเป็นการแชร์กัน ส่วนราคานั้นเท่าที่เห็นจะอยู่ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป จนไปถึงหลักหมื่น
สิ่งที่แตกต่างจากร้านอาหารทั่วไป
สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยของทั้ง 2 แบบก็คือ ประสบการณ์การทาน ทางเชฟมักจะเข้ามาเล่าที่มาที่ไปของวัตถุดิบ เพื่อสร้างความรู้สึกคุ้นเคย เพิ่มคุณค่าให้เมนู แล้วทางคนทานจะอินกับอาหารมากยิ่งขึ้น และทานได้อร่อยมากยิ่งขึ้น (ตามหลักจิตวิทยา)

โดยส่วนใหญ่นั้นโดยเฉพาะ Chef Table จะมีการโชว์ว่าอาหารเมนูนั้นทำอย่างไร เพื่อเพิ่มอโรมาในห้อง และเพิ่มความรู้สึกอยากทานมากยิ่งขึ้น
สุดท้ายก็คือการคัดสรรค์วัตถุดิบที่ดีกว่า แน่นอนว่าการที่คุณจ่ายมื้อแพงกว่าอาหารทั่วไป ทางร้านก็ต้องทำให้คุณรู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่คุณจ่ายไป ทางร้านก็จะพยายามหาวัตถุดิบที่รู้สึก Special จริงๆ

ร้านอาหาร โอมากาเสะ / Chef Table ไม่ได้อร่อย และถูกปากเสมอไป
ต้องบอกก่อนว่าเป็นปกติของทุกคนที่ลิ้นของเราไม่เหมือนกัน แต่ละคนต่างรสชาติ ลิ้นเราก็อาจจะไม่ได้เหมือนเชฟ ทำให้บางคนอาจจะมองว่าร้านที่เราเข้าไปทานไม่อร่อย ก็เป็นไปได้สูง
โดยเฉพาะ Chef Table ที่หลายร้านที่เจ้าของร้านมักมีการฟิวชั่นมากๆ ก็จะมีรสชาติที่ล้ำลึกมากๆ จนลิ้นบางท่านอาจจะไม่ได้รู้สึกก็เป็นไปได้
สิ่งแรกที่ทำก็คือการหาข้อมูลร้านต่างๆ ที่เราจะไปทานว่าใช่แนวที่เราอยากทานหรือไม่
เริ่มเลือกร้านอย่างไร
เราควรเริ่มด้วยงบประมาณของเราก่อน โอมากาเสะนั้นจะเริ่มอยู่ราว 1,000 บาท เมื่อรวม Vat และ Service Charge ส่วนระดับที่แนะนำคือราคาระหว่าง 3,000 – 5,000 บาท จะได้เห็นความแตกต่างระหว่างร้านชูชิทั่วไปแบบชัดเจน ส่วนเกิน 5,000 บาทส่วนมากจะเน้นปลาหายากจากญี่ปุ่น และคำที่ได้กินก็อยู่ราว 12-16 คำ
ส่วนประเภทหลักๆ ของ โอมากาเสะ จะมีในแนว Original คือเน้นเนื้อปลา, Fusion เป็นการนำเนื้อปลาไปผ่านกรรมมาวิธีต่างๆ, เทมปุระ การนำวัตถุดิบต่างๆ ไปทอด และ การทำยากิโทริ หรือการย่างนั้นเอง

ด้านงบประมาณของ Chef Table จะเริ่มที่ประมาณ 2,000 บาทขึ้นไป และโดยส่วนมากจะไม่เกิน 5,000 บาท เว้นแต่ร้านที่มีชื่อเสียงจริงๆ หลักหมื่นก็พอมีให้เห็นกันบ้าง โดยส่วนมากจะเสริฟกัน 6-8 จาน โดยเฉลี่ย
Chef Table จะไม่ค่อยมีการแยกวิธีการทำ แต่จะแยกเป็นสัญชาติมากกว่า อย่าง ไทย, อินเดีย, ฝรั่งเศษ, อิตาลี และฟิวชั่น
ข้อแนะนำการเข้าไปทาน
หลักๆ ที่ควรพูดคุยตั้งแต่จองหรือเริ่มคอร์สก็คือ ควรแจ้งว่าเราแพ้อาหารชนิดไหน และไม่ทานอะไรบ้าง ทางร้านจะได้จัดเตรียมได้ถูก และ การเข้าไปทานเราสามารถสอบถามว่าขอเพิ่มชิ้น/จานนั้น ได้หรือไม่ ถ้าเราชอบจริงๆ (มีการคิดค่าใช้จ่ายตามจริง)
เหตุผลที่ควรลองทานสักครั้ง
สุดท้ายส่วนตัวก็อยากจะให้คนที่มีรายได้ระดับปานกลาง – สูง ที่พอมีกำลังทรัพย์อยู่บ้าง เหตุผลที่ควรลองเข้าไปทานก็คือจะได้สัมผัสกับวัตถุดิบที่อาจจะไม่เคยได้ลิ้มรส รวมไปถึงวิธีการทำแบบพิเศษ ซึ่งบางทีวัตถุดิบหรือเมนูบางอย่างที่ดูพื้นๆ แต่เมื่อได้รับคัดสรรค์มาเป็นพิเศษ ปรุงด้วยวิธีเฉพาะตัวก็ให้รสชาติที่คุณคาดไม่ถึง ก็นับว่าเป็นประสบการณ์สักครั้งในชีวิตที่จะได้ลองอะไรใหม่ๆ ในชีวิตในวันพิเศษอย่าง วันฉลองสังสรรค์ หรือ วันเกิดเรา / คนรัก
Facebook Comments